ในปัจจุบันการใช้ประโยชน์จากยางพาราส่วนใหญ่
จะเป็นในด้านของ ยางรถยนต์ รถจักรยานยนต์ ถุงมือยาง
ถุงยางอนามัย ผลิตภัณฑ์ยาง ที่ใช้ในอุตสาหกรรม และ การแพทย์ เช่น ยางรองแท่นเครื่อง สายพานยาง ยางรัดของ
สายยางทั่วไป สายน้ำเกลือ เป็นต้น ซึ่งในตลาดขณะนี้
ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยาง มีความสนใจเป็นอย่างมากในเรื่องของการผลิต
ฉนวนกันความร้อน จากยางพาราเพื่อ
ใช้งานในโครงสร้าง เช่น ถนน ทางเดิน ทางลาด , สนามเด็กเล่น, ทางเดินสระว่ายน้ำ ,ลวดลายบนพื้น เพื่อโฆษณา, กันลื่น, ที่จอดรถ สำหรับ อาคาร บ้านพักอาศัย และ โรงงานต่างๆ. การผลิต Vulcanized Para Rubber (Natural Rubber)ผสมทรายซิลิก้า โดยใช้สารตัวเติม (Additive)สำหรับควบคุมความเสื่อมของยางพารา การเพิ่ม ความเหนียวช่วยให้ติดกัน ของ ยางผสม NR ที่วัลคาไนซ์แล้ว กับปูนทรายและซฺลิก้า เพื่อเพิ่มความเหนียว ตาม การออกแบบ โดยใช้ เครื่องมือ วัด Compression set ของยาง เพื่อการ
ศึกษาวิจัย ในเรื่องของผลิตภัณฑ์จาก ยางพารา ที่เกี่ยวกับ วัสดุก่อสร้าง ซึ่งมีคุณสมบัติเป็น ฉนวนกันความร้อนได้ด้วย จึงเป็น หัวข้อที่น่าสนใจ โดยผู้ผลิตคนไทยได้มุ่งที่จะนำ การพัฒนา
ยางธรรมชาติ มาใช้แทน ยางมะตอย ซึ่งมีคุณสมบัติ
เป็นฉนวนกันความร้อนที่ดีกว่าการใข้วัสดุอื่นๆ โดย ให้มีคุณสมบัติทางธรรมชาติ ลดมลพิษ และ ดีขึ้นทั้งด้านของกำลังอัด และ กำลังดัด(Stress and Strain)
สามารถปรับปรุงให้เหนียวกว่ายางมะตอย อีกทั้งยังมีความเป็นไปได้ในการที่จะช่วยลด ค่าสัมประสิทธิ์การ
นำความร้อน ลงอีกด้วย ส่วนการพยายามนำแผ่นยางรมควัน มาใช้ใน การทำถนนดูเหมือนเป็นการนำวัตถุดิบที่มีราคาสูงใช้อย่าง
ไม่เหมาะสมเพราะแผ่นยางรมควันสามารถเก็บไว้ได้นานการ
พยายามทำถนนจากน้ำยางพาราจึงเป็นเหตุผลที่เหมาะสมกว่า
มาตราฐานตาม
มาตรฐานการฉาบผิวทางแบบสเลอรี่ซีล (Slurry Seal) หมายถึง การฉาบผิวทางเดิน หรือทำผิว
ทาง บนพื้นทางที่ได้ทำการไพรมโคท (Prime Coat)ไว้แล้วด้วยส่วนผสมของมวลรวมที่มีขนาดคละกันดี
(Well Graded) กับแอสฟัลต์อิมัลชั่น และน้ำ รวมทั้งวัสดุชนิดละเอียด (Mineral Filler) เช่น ทรายและหินเกล็ด อาจใช้สารผสมเพิ่มเพื่อให้แอสฟัลต์
อิมัลชั่นแช็งตัวเร็วขึ้น
การทำสเลอรี่ซีลมีจุดประสงค์เพื่อบำรุงรักษาผิวทางเดิน
หรือเป็นผิวทางไหล่ทาง
มาตราฐานการทดสอบของกรมทางหลวงชนบท
มถ.(ท) 101.2-2550 : มาตรฐานการทดสอบหาค่าความสึกหรอของวัสดุมวลรวมหยาบ
ด้วยเครื่อง Los Angeles Abrasion
มถ.(ท) 101.1-2550 : มาตรฐานการทดสอบหาค่าส่วนคละของวัสดุมวลรวม
มถ.(ท) 302-2550 : มาตรฐานการทดสอบหาค่าแรงเฉือนตรง
มถ.(ท) 303-2550 : มาตรฐานการทดสอบหาค่าแรงอัดแกนเดียว
สนใจสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ กรุณาติดต่อ
วิรุฬห์ จิรฎฐิติกาล วศบ.เคมี จุฬา
โทร: 089-160-9972, 082-115-3630
email: viljirat@hotmail.com
FB: @thaiparacement
|