เปิดตัว ‘ถนนยางพารา’รูปแบบใหม่ครั้งเเรกที่’บึงกาฬ’
วันที่ 28 มกราคม 2559 - 13:46 น.
(ซ้าย) ดร.ระพีพันธ์ แดงดันดี (ขวาบน) ตัวอย่างจริงของพื้นถนนที่ผสมยางพารา (ขวาล่าง)
แบบจำลองจีโอเซลล์จากยางพาราสำหรับโครงสร้างถนนน
ที่มา
|
มติชนรายวัน
|
ผู้เขียน
|
อรพรรณ จันทรวงศ์ไพศาล
|
เผยแพร่
|
วันที่ 28 มกราคม 2559
|
ในช่วงที่ผ่านมาเรามักจะได้ยินการพูดถึงเรื่อง “ถนนยางพารา” ว่าเป็นทางออกในการแก้วิกฤตยางตกต่ำเพราะเป็นการนำยางที่มีอยู่จำนวนมากออกมาใช้
จากการศึกษาวิจัยของสถาบันวิจัยยางของกรมวิชาการเกษตร ก็ระบุชัดว่าถนนที่มียางพาราผสมอยู่ด้วยมีความคงทนเเละมีอายุใช้งานยาวกว่าถนนที่มีเเต่ยางมะตอยอย่างเดียวขณะที่
ถนนยางพารากำลังเป็นที่พูดถึงอยู่นั้นใน “งานวันยางพาราเเละกาชาดบึงกาฬ 2559”ที่เพิ่งผ่านพ้นไปสดๆ ร้อนๆ มีการเปิดตัวนวัตกรรมการทำถนนยางพารารูปเเบบใหม่เป็น
ครั้งเเรกถึง 2 รูปแบบด้วยกัน ที่สำคัญคือ ถนนยางที่เปิดตัวครั้งนี้สามารถใช้คู่กับถนนยางพาราเเบบผสมยางมะตอยที่คิดค้นไว้ก่อนหน้า เพิ่มคุณสมบัติของถนนเข้าไปอีกสร้าง
ความสนใจให้กับนักวิชาการเเละผู้มาร่วมงานยางพาราอย่างมาก จนมีผู้มาขอความรู้ที่บูธมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือต่อเนื่องจนวันสุดท้ายของงานโดยมี
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ระพีพันธ์ แดงตันดี ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายความร่วมมืออุตสาหกรรมอาจารย์เเละนักวิจัยหลักสูตรวิศวกรรมวัสดุเเละการผลิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
พระจอมเกล้าพระนครเหนือ ผู้บุกเบิกงานวิจัยถนนยางพารารูปแบบใหม่ครั้งเเรกในเมืองไทย อธิบายข้อมูลเชิงลึกเเบบละเอียดทุกขั้นตอน
ขณะที่ด้านหลังเป็นเเบบจำลองถนนยางพาราทั้ง 2 รูปแบบ เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น อาจารย์ระพีพันธ์เล่าว่า จุดประสงค์ของการวิจัยทำถนนยางพาราก็เพื่อหาเเนวทางการใช้ยางพาราให้ได้มากที่สุด
ซึ่งใช้เวลาศึกษามามากกว่า 2 ปี มีการศึกษา 2 รูปแบบ ซึ่งมีความโดดเด่นเเละเหมาะสมกับประเทศไทยเเตกต่างกันไป
2 รูปแบบใช้ยางทำถนน
(Para Rubber Geocells for road construction)
อาจารย์ระพีพันธ์อธิบายว่า จีโอเซลล์จากยางพาราเป็นการทำถนนโดยใช้ยางเเผ่น ยางเเห้ง มาเป็นตัวยึดดินที่อยู่ข้างล่างของถนน โดยส่วนใหญ่จะเหมาะกับถนนที่ดินไม่อยู่ตัว ดินอ่อน ดินเหลว หรือดิน
ที่มีลักษณะทรุด อย่างบ้านเราเหมาะมากในทุกภูมิภาค เพราะประเทศไทยมีลักษณะดินชุ่มน้ำหรือดินอ่อน เเต่ประเทศไทยยังไม่มีการใช้มาก่อน เเต่ในต่างประเทศใช้กันเยอะโดยเฉพาะยุโรป เยอรมนี
เเต่เขาจะใช้โพลิเมอร์หรือพลาสติก เนื่องจากเขาไม่มียางพารา ของเรามีการปรับมาใช้ยางพาราที่เป็นยางเเห้งมาขึ้นรูปเป็นลักษณะรังผึ้ง ความลึกเเล้วเเต่การออกเเบบ เเต่หลักๆ จะอยู่ที่ประมาณ
10-15 เซนติเมตรจากการศึกษาจีโอเซลล์จากยางพารามีคุณสมบัติการรับเเรงดีกว่าโพลีเมอร์หรือพลาสติก“ถ้าเทียบกับถนนปกติ จีโอเซลล์จากยางพาราจะมีอายุการใช้งานจะเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 50-70 เปอร์เซ็นต์ของอายุการใช้งานเดิม เนื่องจากตัวจีโอเซลล์จะเป็นตัวกระจายเเรงเวลารถยนต์วิ่ง ที่จะมีทั้งเเรงที่กดลงไป
เเละเเรงกระชากซ้ำไปซ้ำมา เเต่จีโอเซลล์จะเป็นตัวถ่ายเเรงจากถนนลงสู่พื้น ทำให้ตัวถนนรับเเรงได้ดีขึ้นเเละมีความยืดหยุ่น ช่วยยืดอายุการใช้งานของถนนได้ดียิ่งขึ้น โดยพื้นที่หนึ่งตารางเมตรจะใช้ยางพาราประมาณ 10 กิโลกรัม ดังนั้น ถนนเส้นความยาว 1 กิโลเมตร หรือ 6,000 ตารางเมตร จะใช้ยางพารา60,000 กิโลกรัม ซึ่งเป็นยางจำนวนมหาศาล“จุดอ่อนของจีโอเซลล์คือราคาที่เพิ่มขึ้น เพราะเราเพิ่มคุณสมบัติเข้าไป เเต่คุณภาพเเละอายุการใช้งานเพิ่มขึ้นอีกส่วนตัวผิวยางด้านบนปัจจุบันสามารถผสมยางพาราลงไปในยางมะตอยได้ ซึ่งมีสถาบันวิจัยยางทำไว้
สามารถผสมยางพาราประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์ ในส่วนโครงสร้างถนน ถ้าทำจีโอเซลล์น่าจะเป็นการเพิ่มคุณสมบัติของถนน เเละช่วยในเรื่องการใช้ยางในประเทศนอกเหนือจากการผสมบนผิวถนนอย่างเดียว”อาจารย์ระพีพันธ์อธิบายถึงถนนรูปแบบเเรก
รูปแบบที่ 2 พารารับเบอร์โพลีเมอร์ซอยซีเมนต์ (Para Rubber Polymer Soil Cement)
สำหรับรูปแบบที่ 2 อาจารย์ระพีพันธ์อธิบายว่า เป็นรูปแบบที่พัฒนามากจากโพลีเมอร์ซอยซีเมนต์
(Polymer Soil Cement) แต่เติมเป็นน้ำยางพาราลงไป ซึ่งเเนวคิดนี้เริ่มมาจากการทำถนนจากยางมะตอย ใช้น้ำยางพาราเพียง 5 เปอร์เซ็นต์ หรือมากที่สุดคือ 7 เปอร์เซ็นต์ เพราะติดขัดปัญหาหลายอย่างเลยหาวิธีทำถนนที่ใช้น้ำยางพาราเพิ่มขึ้นอาจารย์ระพีพันธ์อธิบายขั้นตอนการทำถนนพารารับเบอร์โพลีเมอร์ซอยซีเมนต์ โดยจะต้องเริ่มต้นด้วยการบดอัดถนนให้เเน่นเเล้วค่อยเกลี่ยดินบริเวณด้านหน้าให้หลวม จากนั้นนำซีเมนต์มาโรย เเล้วไถคราดเกลี่ยให้ทั่วผิวหน้า เป็นวิธีการผสมเเห้งโดยเเทรกเตอร์โรตารี่ เเล้วใช้สเปรย์ที่ผสมน้ำยางพารากับหัวเชื้อโพลีเมอร์ ซึ่งเป็นโพลีเมอร์สังเคราะห์ตัวหนึ่งที่ยึดโครงสร้างทั้งหมดไม่ให้น้ำซึม เเล้วตัวน้ำยางพาราจะเป็นตัวช่วยสนับสนุนเเรงเเละเป็นตัวที่ช่วยเรื่องความยืดหยุ่นเเละความเหนียว นำมาพ่นบนถนนเเล้วใช้รถบดทับดินให้เเน่นบดอัดเป็นชั้นๆ จนได้ความหนาที่ต้องการเพื่อให้ตัวน้ำยางเข้าไปทุกอณูของดิน
สนใจทำถนนและผนังจากยางพาราติดต่อ www.thaiparacement.com
|